เปิดวิธีรับเงินคืน “ประกันมิเตอร์ไฟฟ้า” ทุกบ้านมีสิทธิ์ ได้ 6,000 จ่ายจริงสิ้นเดือน
เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ได้กล่าวถึงเรื่องการแจกเงินว่า “วันนี้ยืนยันการจ่ายเงินคนละ 2,000 บาท
จะยังไม่มีการจ่าย เบื้องต้นจะมีมาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าประมาณ 3,000 บาทต่อครัวเรือน”
เมื่อไม่แจกเงิน 2,000 บาทแล้ว แต่จะเปลี่ยนมาเป็น คืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า 3,000 บาทแทน หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่า รายละเอียดคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้านั้น ต้องทำอย่างไร ใครจะได้เงิน แล้วจะให้เงินอย่างไร ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ ไล่เรียงมาให้คุณเข้าใจง่ายๆ ดังต่อไปนี้
โดยที่มาที่ไปของ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” นั้น แหล่งข่าวจาก กฟน. อธิบายไว้ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ครั้งแรกที่คุณยื่นขอใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าจะเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ซึ่งคุณจะได้เงินคืนก็ต่อเมื่อคุณเดินทางไปทำเรื่องยกเลิกใช้ไฟฟ้า
ส่วนเหตุผลที่ต้องเก็บ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” เนื่องจากเป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดย แหล่งข่าวจาก กฟน. ยกตัวอย่างความจำเป็นที่ต้องมีการเก็บ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” ให้เห็นภาพว่า บ้านของนาย ก. ไม่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ทาง กฟน. ก็จะยึดเงินประกันการใช้ไฟฟ้าของ นาย ก. ที่เคยจ่ายไว้กลับเข้ารัฐ
หมายเหตุ : ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จะได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์ทุก 5 ปี โดยคิดในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย
โดยอัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันคืนเมื่อยกเลิกใช้ไฟฟ้า มีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้
ทำความเข้าใจ ก่อนไปเอา “ค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า”
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดเผยกับทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ว่า สำหรับ “ค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า” ที่จะคืนให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็กนั้น หลายท่านที่เคยยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า จะรู้จักกันในชื่อค่าธรรมเนียม “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า”โดยที่มาที่ไปของ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” นั้น แหล่งข่าวจาก กฟน. อธิบายไว้ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ครั้งแรกที่คุณยื่นขอใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าจะเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ซึ่งคุณจะได้เงินคืนก็ต่อเมื่อคุณเดินทางไปทำเรื่องยกเลิกใช้ไฟฟ้า
ส่วนเหตุผลที่ต้องเก็บ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” เนื่องจากเป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดย แหล่งข่าวจาก กฟน. ยกตัวอย่างความจำเป็นที่ต้องมีการเก็บ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” ให้เห็นภาพว่า บ้านของนาย ก. ไม่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ทาง กฟน. ก็จะยึดเงินประกันการใช้ไฟฟ้าของ นาย ก. ที่เคยจ่ายไว้กลับเข้ารัฐ
หมายเหตุ : ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จะได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์ทุก 5 ปี โดยคิดในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย
โดยอัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันคืนเมื่อยกเลิกใช้ไฟฟ้า มีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้
- มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท (บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)
- มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท (เป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้)
- มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท (บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด)
- มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท (ประชาชนไม่นิยมใช้ จะมีประชาชนส่วนน้อยที่ได้รับอัตราเงินจำนวนนี้)
รายละเอียดการรับเงินคืน
- นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับทีมข่าวว่า "ผู้ที่จะได้รับเงินคืนค่าประกันค่ามิเตอร์ มีจำนวนรวม 21.5 ล้านราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท"
- เริ่มทยอยคืนได้ในรอบบิล “สิ้นเดือนมีนาคม” นี้
- ขณะที่ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุผ่านเฟซบุ๊กว่า ประชาชนสามารถดำเนินการขอคืนเงินกับหน่วยงานที่ท่านยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ท่านขอใช้ไฟฟ้าจาก กฟน. หรือ กฟภ.
หมายเหตุ : การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ให้บริการพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ให้บริการกับผู้ใช้ไฟฟ้าในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยกเว้น 3 จังหวัดข้างต้น
- “เงินประกันของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละครัวเรือน
จะมีจำนวนเงินไม่เท่ากัน โดยขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์
และมิใช่ว่าทุกคนในบ้านจะได้เงิน
แต่ผู้ที่ได้เงินจะเป็นผู้ที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น” แหล่งข่าวจาก กฟน. กล่าวกับทีมข่าว
- ยกตัวอย่างเช่น ที่บ้านของนาย ก. ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) นาย ก. จะได้รับเงินคืนทั้งสิ้น 2,000 บาท
- เมื่อผู้สื่อข่าวถาม นายวัชระ โฆษกกระทรวงพลังงานว่า "ถ้าเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้าเสียชีวิตแล้ว ลูกหลานจะได้รับเงินคืนหรือไม่?" ได้รับคำตอบสั้นๆ ว่า "ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรครับ"อย่างไรก็ดี หากมีความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว ทีมข่าวจะรายงานให้ทราบต่อไป.