รู้เท่าทันก่อนที่ ฟองสบู่มันจะแตก วิกฤตเศรษฐกิจ อาจจะเกิดสภาวะ “ฟองสบู่แตก” เหมือนในปี 1997
ในช่วงที่กระแสเศรษฐกิจ ทั้งการเงิน และการลงทุนกำลังบูมอย่างต่อเนื่อง หันไปทางไหนก็เจอแต่คำว่า “New High” ตั้งแต่ดัชนีตลาดหุ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 23 ปีในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ใครๆ ก็ต่างคาดการณ์ว่ามันจะวิ่งทะลุไปได้ไกลมากกว่านี้ ในขณะเดียวกันก็ยังมีคนที่ยังแสดงความกังวลกลัวว่าจะเกิดสภาวะ “ฟองสบู่แตก” เหมือนในปี 1997 ที่ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย
ในปี
2008 ที่สหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤตซับไพรม์ฟองสบู่แตกกับภาคอสังหาริมทรัพย์
จนกลายเป็นเรื่องที่น่าขยาดสำหรับอเมริกันชนไปเลยก็ว่าได้
ถ้าย้อนกลับไปในปี 1622 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็เคยเกิดเรื่อง Tulip Mania
หรือความคลั่งในดอกทิวลิปมาแล้ว
ซึ่งถือว่าเป็นวิกฤตฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลกก็ว่าได้
นอกจากนี้ยังมีวิกฤตที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์การลงทุนอาทิ
- Missipsippi ในระหว่างปี 1716-1719 ที่ตลาดหุ้นฝรั่งเศส
- South Sea Bubble ในปี 1720 ที่อังกฤษ (แม้แต่นักวิทยาศาสตร์คนดังอย่างไอแซค นิวตัน ยัง เจอการขาดทุนมหาศาลกับตัวเอง)
- วิกฤตเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 1980
- วิกฤตเศรษฐกิจดอตคอม ในช่วงต้นทศวรรษ 2000
รายละเอียดของวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆ
สามารถหาอ่านได้ในอินเตอร์เนตนะครับ (ผมแนะนำให้ลองไปหาอ่านดู
เพราะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทำให้เราสามารถมองภาพในปัจจุบันและเข้าใจเหตุผลที่มาของสภาวะที่เกิดขึ้นได้)
ฟองสบู่แตก ? ศัพท์นี้มีที่มาที่ไปยังไง ?
ในวัยเด็ก
เพื่อนๆ เคยเป่าฟองสบู่กันมั้ยครับ?
ฟองสบู่สีสันสวยงามที่กำลังล่องลอยขึ้นไปบนอากาศจนถึงระดับหนึ่งแล้ว
มันจะแตกตัวไปเอง เพราะความจริงแล้วฟองสบู่ไม่ได้มีความสามารถมากพอที่จะลอยขึ้นไปที่สูงๆ
ได้เมื่อต้องเจอกับอุณหภูมิและแรงลมนั่นเองครับ
ฟองสบู่ก็เหมือนกับราคาของ
“สินทรัพย์” ต่างๆ ที่มีอยู่บนโลกนี้ โดยมีคนสร้าง “มูลค่า” ให้กับมันตาม
“ความเชื่อในบางเรื่อง” เช่น เรามีความสุขที่จะเห็นหุ้น อสังหาริมทรัพย์
หรือบิทคอยน์ ที่เราเชื่อมั่นว่ามีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ
เราจึงมีความสุขกับการลงทุนต่อสิ่งเหล่านั้น
ซึ่งพอราคามันขึ้นหลังจากที่เราซื้อ
เราจึงมีความสุขกับการที่ได้อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ที่เราลงทุน
ในขณะที่เรายังคงสนุกสนานกับการเฝ้าดูราคาลอยขึ้นไปในอากาศเรื่อยๆ
สิ่งที่เรียกว่า “ความโลภ” จึงเข้าครอบงำความรู้ ทำให้เราลืมคิดถึง
“มูลค่าที่แท้จริง” ของสินทรัพย์เหล่านั้นไปโดยปริยาย
โดยเราไม่รู้เลยว่าฟองสบู่ที่มีสีสันเหล่านั้นกำลังจะแตกตัวในไม่ช้า...
สาเหตุที่เกิดภาวะฟองสบู่(แตก)
ความโลภของมนุษย์เราจะมีมาก
ตามราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทุกคนพากันเฮโลมาที่สินทรัพย์ชนิดนั้นเพราะคิดว่า
“ถ้าไม่รวยตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหนล่ะ?”
เมื่อปริมาณความต้องการมากขึ้นราคาของสินทรัพย์จึงเพิ่มขึ้นตามกฎอุปสงค์
จนราคาของสินทรัพย์วิ่งนำปัจจัยพื้นฐานไปมาก
เหมือนหัวดอกทิวลิปที่ต่อให้สวยงามหรือมีสีสันหายากแค่ไหน
ปัจจัยพื้นฐานของมันคือ “ดอกไม้ที่หายาก” เท่านั้นเอง
การที่ราคาของมันสูงเกินกว่าที่ดินในยุคนั้น
นับได้ว่าเป็นวิกฤตฟองสบู่ของดอกทิวลิปอย่างแท้จริง
ยิ่งไปกว่านั้น
คนโดยส่วนมากเข้าสู่ตลาดมาเพื่อ “เก็งกำไร”
ไม่ได้เข้ามาเพราะต้องการใช้ประโยชน์
หรือหวังผลตอบแทนที่แท้จริงจากสินทรัพย์นั้นจริงๆ ต่อให้ราคาดอกทิวลิป
ราคาหุ้น หรือราคาบ้านในสหรัฐฯ สูงมากแค่ไหน พวกเขาก็ยอมซื้อ
เพราะชื่อว่ามันจะต้องมีคนยอมซื้อที่ราคาแพงกว่านี้ได้อีกราคาของสินทรัพย์ก็จะขึ้นไปอย่างรวดเร็ว
เหตุนี้เองจึงเกิดเครื่องมือการเก็งกำไรอย่างสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเข้ามาเกี่ยวข้องที่ยิ่งทำให้การเก็งกำไรเป็นไปอย่างสนุกสนาน
เพราะสามารถซื้อขายสินทรัพย์ชนิดนั้นๆ บนราคาในอนาคตได้
โดยไม่จำเป็นต้องส่งมอบของเพื่อแลกเปลี่ยนกับราคาเสมอไป
แต่ถ้าคนในตลาดเริ่มรู้ตัวว่าราคามันวิ่งเกินมูลค่าที่แท้จริง
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าก็จะช่วยดึงสติให้ทุกคนกลับมาอยู่บนโลกแห่งความจริงมากขึ้น
เมื่อทุกคนตื่นจากฝันมาพบกับความจริง
บางที..มันก็สายเกินไป เพราะฟองสบู่ที่สวยงามได้แตกไปแล้ว
สบู่แตกแล้วใครเดือดร้อน
ส่วนมากคือ
“คนโลภ” คนที่ก่อหนี้
เพราะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาของการกอบโกยผลประโยชน์จากภาวะการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์
ในช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง 1997 มีหลายคนที่โดดเข้ามาในตลาดหุ้น
โดยไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนรองรับเลย
แต่เข้ามาเพราะคิดว่าเป็นแหล่งสร้างเงิน พร้อมกันกับเปิดบัญชีมาร์จิ้น
เพิ่มความเสี่ยงด้วยการสร้างหนี้เพื่อผ่อนแรงตัวเอง
เพราะคิดว่าตัวเองจะได้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนจากตลาดหุ้น
และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แน่นอน
ในวิกฤตซับไพรม์
2008
ที่ธนาคารพากันปล่อยกู้ให้กับชาวอเมริกาที่ต้องการเงินไปยื่นซื้อบ้านใหม่เพื่อเก็บสะสมไว้
เพราะราคาอสังหาริมทรัพย์ในตอนนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
มูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันมีแต่จะสูงขึ้น
จนมาตรฐานการปล่อยกู้ของธนาคารเริ่มผ่อนปรน
มีการปล่อยกู้แบบใหม่ผ่านตราสารต่างๆ
จนในที่สุดก็เริ่มมีสัญญาณของหนี้เสียค่อยๆ สะสมซุกอยู่ใต้พรม
โดยที่ธนาคารไม่รู้ตัวว่าภาคอสังหาฯ กำลังประสบกับปัญหาฟองสบู่แตก
(แนะนำให้ดูหนังเรื่อง BIG SHOT ประกอบไปด้วยจะมันส์มาก)
ทำอย่างไรที่เราจะไม่เผชิญกับฟองสบู่
สิ่งหนึ่งที่เพื่อนๆต้องเข้าใจก่อนการลงทุน
ก็คือ “ปัจจัยพื้นฐาน” ของสินทรัพย์ตัวนั้น
อย่าให้ราคาหรือผลตอบแทนที่ดูเหมือนจะได้มันมาอย่างง่ายดายและรวดเร็วหลอกตาเราจนกระโดดเข้าไปร่วมวง
เอาเข้าจริงมันพูดยากนะครับ..ที่จะหยุดความโลภของคน
เพราะพื้นฐานของคนมักจะชอบอะไรที่ตื่นเต้น เอาเป็นว่าผมไม่ห้ามหรอก
ถ้าอยากจะเข้าไปสนุกกับมัน แต่อย่าวางเดิมพันด้วยเงินทั้งชีวิตหรือกู้ยืม
เพื่อเอาเงินในอนาคตมาทุ่มลงไปกับมันทั้งหมด
ทางที่ดีควรศึกษาประวัติศาสตร์
หรือกรณีศึกษาของวิกฤตแล้วลองย้อนมองดูสภาวะสินทรัพย์ต่างๆ
ในตอนนี้ว่าอันไหนเข้าข่ายฟองสบู่ใกล้จะแตกบ้าง อยู่ห่างๆ
อย่าเข้าไปร่วมวงน่าจะดีกว่า จะเจ็บมากเจ็บน้อยก็เสียเงินเหมือนกัน