จากข้อมูลพบว่า มีบริษัทจำกัดทั้งหมดที่จดทะเบียนกว่า 400,000 ราย มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นกว่า 50% มากถึง 98% และถือหุ้นคนเดียวมากกว่า 90% เป็นจำนวนถึง 82% สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะกฎหมายไม่เอื้อต่อการจดทะเบียนบริษัทคนเดียวได้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหา “ตัวแทน หรือ นอมินี “ มาถือหุ้น
หลังจากที่ พ.ร.บ.การจัดตั้งบริษัทคนเดียวพร้อมใช้ จะส่งผลดีอย่างมากสำหรับ SMEs รุ่นใหม่ๆหรือใครที่กำลังคิดฝันอยากมีธุรกิจ เนื่องจากจะช่วยลดปัญหาและข้อขัดแย้งในการร่วมทุนกับหุ้นส่วน ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ทั้งนี้การเข้าสู่ระบบยังช่วยเพิ่มโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์มากมายที่ภาครัฐฯมอบให้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับ SMEs ไทย ให้ก้าวไปไกลในตลาด AEC
แต่การจดทะเบียนบริษัทคนเดียวก็ยังมีข้อเสียอยู่ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายคนเดียว ซึ่งแหล่งที่มาของเงินทุนอาจมีจำกัด หากธุรกิจเจ๊งผู้ประกอบการก็ต้องจำยอมให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ทั้งหมดถึงแม้ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสินส่วนตัวที่ไม่ได้นำมาลงด้วยทุนก็ตามและหากต้องการระดมทุนก็ถือว่าเป็นเรื่องยากเนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือเพราะมีชื่อเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ในอนาคตเมื่อการจดทะเบียนคนเดียวสามารถทำได้ ธุรกิจต่างๆที่ไม่ได้มาตรฐานก็จะหลั่งไหล่เข้ามา หลายธุรกิจอาจล้มเหลวจนทำให้ภาพรวมของระบบการจดทะเบียนบริษัทคนเดียว กลายเป็นสิ่งที่เสี่ยงต่อภาวะวิกฤติของธุรกิจ
ทำไมผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนการค้า?
- เพราะเป็นกฎหมายซึ่งระบุว่า ประกอบพาณิชย์กิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่องปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
- เพื่อบอกตัวตนและความน่าเชื่อถือ แสดงถึงธุรกิจมีหลักแหล่งมั่นคง ซึ่งจะส่งผลกระทบในอนาคตเมื่อธุรกิจเติบโตแล้วต้องการระดมทุนขยายธุรกิจ
- เพื่อเป็นฐานข้อมูลในระบบให้ภาครัฐได้ประเมินถึงโอกาสต่างๆที่จะเข้ามา พร้อมสนับสนุนประเภทธุรกิจที่คุณทำอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับประเทศและตัวผู้ประกอบการเอง
- เพื่อนำทะเบียนการค้าไปขอสินเชื่อต่างๆในการต่อยอดและเพิ่มโอกาสทางการค้า
สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่
เขตกรุงเทพมหานคร
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
- ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น
ในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่
เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : ส่วนบริหารการจดทะเบียน สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนด : https://goo.gl/avZmX4
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์ : https://goo.gl/uZixd6
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มทะเบียนพาณิชย์ : https://goo.gl/iQVzWA